การละเล่นพื้นบ้าน
ประวัติการละเล่นพื้นบ้าน
ประวัติการละเล่นพื้นบ้านการละเล่นของเด็กไทยนั้นมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ก่อนประวัติศาสตร์แล้ว
กล่าวคือ เมื่อมนุษย์รู้จักเอาดินมาปั้นเป็นภาชนะ
สิ่งของเครื่องใช้ในครั้งแรกแล้วจึงพัฒนามาเป็นลำดับ เด็ก ๆ เห็นใหญ่ทำก็เลียนแบบนำดินมาปั้นเล่นบ้าง ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง
ก็กล่าวคือถึงคนในสมัยนั้นว่าอยู่เย็นเป็นสุข อยากเล่นก็เล่น ดังที่กล่าวไว้ว่า“
ใครจักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน “ แต่ไม่มีรายละเอียดกล่าวไว้ว่าคนสมัยนั้นมีการละเล่นอะไรบ้าง
ในสมัยอยุธยาได้กล่าวถึงการละเล่นบางอย่างไว้ในบทละครครั้งกรุงเก่า
เรื่องนางโนห์รา ซึ่งเรื่องนี้สมเด็จกรมพระยาดดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า
แต่งก่อนสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ การละเล่นที่ปรากฏในบทละครเรื่องนี้ คือ
ลิงชิงหลักและการเล่นปลาลงอวน ดังบทที่ว่า มื่อนั้น โฉมนวลพระพี่ศรีจุลา
บอกเจ้าโฉมตรูมโนห์รา มาเรามาเล่นกันให้สนุกจริงจริง มาเราจะวิ่งลิงชิงเสา
ข้างโน้นนะเจ้าเป็นแดนพี่ข้างนี้เป็นแดนเจ้านี้ เล่นชิงเสาเหมือน
ถ้าใครวิ่งเร็วไปข้างหน้า ถ้าใครวิ่งช้าไปข้างหลังนั้น เอาบัวเป็นเสาเข้าชิงกัน
ขยิกไล่ผายผันกันไปมา เมื่อนั้น โฉมนวลพระศรีจุลา บอกเจ้าโฉมตรูมโนห์รา
มาเราจะเล่นปลาลงอวน บัวผุดสุดท้องน้องเป็นปลา
ลอยล่องท่องมาเจ้าหน้านวลจะขึงมือกันไว้เป็นสายอวน ดักท่าหน้านวลเจ้าล่องมา
ออกหน้าที่ใครจับตัวได้คุมตัวเอาไว้ว่าได้ปลา
เมื่อนั้น เอวรรณขวัญข้าวมโนห์รา เป็นปลาตะเพียนทองล่องน้ำมา คือ
ดังพระยาราชหงส์ทอง ล่องเข้าในอวนโห่ร้อง มีในสระพระคงคา “ วรรณคดีในสมัยรัตนโกสินทร์ก็ปรากฏชื่อละเล่นหลายอย่างเช่นตะกร้อ
จ้องเต ขี่ม้าส่งเมือง เป็นต้น ดังที่กล่าวไว้ในอิเหนา
ความหมายของการละเล่นพื้นบ้าน
ความหมายของการละเล่นพื้นบ้านว่าการละเล่นพื้นบ้าน หมายถึง
กิจกรรมการเล่นของสังคม เป็นกิจกรรมนันทนาการหนึ่งซึ่งได้รับการยอมรับร่วมกันในสังคม
โดยมีรากฐานมาจากความเป็นจริงแห่งวิถีชีวิตของชุมชนที่มีการประพฤติปฏิบัติสืบทอดกันมาจากอดีตสู่ปัจจุบัน
การละเล่นแสดงออกด้วยการเคลื่อนไหวกริยาอาการเป็นหลัก อาจมีดนตรี
การขับร้องหรือการฟ้อนรำประกอบการเล่น มีจุดมุ่งหมาย
เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินในโอกาสต่าง ๆ
การละเล่นบางชนิดได้รับการถ่ายทอดสืบสานต่อกันมา
และปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนารูปแบบอย่างต่อเนื่องจนมีลักษณะเฉพาะถิ่นดังนี้การละเล่นพื้นบ้านจึงเป็นผลิตผลอันเกิดจากความคิดและ
การละเล่นพื้นบ้าน
การละเล่นพื้นบ้างแบ่งออกเป็น
4 ภาค ได้แก่
1.การละเล่นภาคกลาง (การละเล่นพื้นบ้านของภาคกลาง,2555,online)
การละเล่นของภาคกลาง อธิเช่น
1.1) ชักเช่อ
อุปกรณ์การเล่นและวิธีการเล่น
วิธีการเล่น
แบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ๆ ละกี่คนก็ได้ตามแต่จะตกลงกัน เมื่อแบ่งพวกได้แล้วก็ขีดเส้นแบ่งแดน หัวแถว (ถ้าเป็นชายเรียกพ่อหลัก ถ้าเป็นหญิงเรียกแม่หลัก) ของทั้งสองฝ่ายเหยียดแขนจับไม้ยึดแนวขนานกับพื้นทั้งสองมือ ไม้จะนอนขนานกับเส้นแบ่งแดน ลูกน้องของแต่ละฝ่ายเกาะเอวหัวแถวเรียงต่อ ๆ กัน เริ่มเล่นต่างฝ่ายพยายามดึงให้ฝ่ายตรงข้ามหลุดล้ำเข้ามาในแดนตน ฝ่ายใดหลุดล้ำถือเป็นฝ่ายแพ้ เมื่อแพ้ทั้งสองฝ่ายก็จะเริ่มต้นเล่นเพลงระบำกัน พอจบก็เริ่มชักเย่อกันใหม่
โอกาสที่เล่น
ชักเย่อเป็นการละเล่นประกอบเพลงระบำเช่นเดียวกันช่วงรำ ที่ชาวบ้านหัวสำโรงเล่นในวันสงกรานต์เช่นกัน
คุณค่า
ในอดีตกิจกรรมที่สามารถเป็นสื่อชักนำให้หนุ่มสาวได้มาพบกัน ก็คืองานบุญและการละเล่นหลังทำบุญการเล่นชักเย่อก็เช่นกัน ทำให้หนุ่มสาวได้พบหน้าเกี้ยวพาราสีและสนุกสนานด้วยกัน แต่ปัจจุบันคนหนุ่มสาวมีโอกาสพบกันโดยไม่มีข้อจำกัด
วิธีการเล่น
แบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ๆ ละกี่คนก็ได้ตามแต่จะตกลงกัน เมื่อแบ่งพวกได้แล้วก็ขีดเส้นแบ่งแดน หัวแถว (ถ้าเป็นชายเรียกพ่อหลัก ถ้าเป็นหญิงเรียกแม่หลัก) ของทั้งสองฝ่ายเหยียดแขนจับไม้ยึดแนวขนานกับพื้นทั้งสองมือ ไม้จะนอนขนานกับเส้นแบ่งแดน ลูกน้องของแต่ละฝ่ายเกาะเอวหัวแถวเรียงต่อ ๆ กัน เริ่มเล่นต่างฝ่ายพยายามดึงให้ฝ่ายตรงข้ามหลุดล้ำเข้ามาในแดนตน ฝ่ายใดหลุดล้ำถือเป็นฝ่ายแพ้ เมื่อแพ้ทั้งสองฝ่ายก็จะเริ่มต้นเล่นเพลงระบำกัน พอจบก็เริ่มชักเย่อกันใหม่
โอกาสที่เล่น
ชักเย่อเป็นการละเล่นประกอบเพลงระบำเช่นเดียวกันช่วงรำ ที่ชาวบ้านหัวสำโรงเล่นในวันสงกรานต์เช่นกัน
คุณค่า
ในอดีตกิจกรรมที่สามารถเป็นสื่อชักนำให้หนุ่มสาวได้มาพบกัน ก็คืองานบุญและการละเล่นหลังทำบุญการเล่นชักเย่อก็เช่นกัน ทำให้หนุ่มสาวได้พบหน้าเกี้ยวพาราสีและสนุกสนานด้วยกัน แต่ปัจจุบันคนหนุ่มสาวมีโอกาสพบกันโดยไม่มีข้อจำกัด
1.2) กลองยาว
อุปกรณ์และวิธีเล่น
กลองยาวเป็นกลองหน้าเดียว รูปร่างทรงยาว ด้านล่างกลึงเป็นรูปคล้ายปากแตร ส่วนบนป่องเล็กน้อยปิดด้วยหนังวัว ขึงด้วยเชือกให้ตึง กลองยาวมีหลายขนาดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้เล่น ตกแต่งด้วยผ้าสีสวยงาม มีสายสะพายคล้องบ่าเพื่อสะดวกในการเดินตี
ผู้เล่นกลองยาวจะใช้มือตีทั้งสองมือ บางครั้งตีแบบโลดโผนเพื่อความสนุกสนาน ใช้กำปั้น ศอก เข่า ศีรษะ หรือต่อตัวในการตีกลอง ซึ่งต้องใช้ทักษะและความชำนาญในการตี
โอกาสที่เล่น
การเล่นกลองยาวเป็นการเล่นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ในจังหวัดนนทบุรีมีการเล่นกลองยาวตามอำเภอต่าง ๆ โดยจะเล่นในขบวนแห่นาค ขบวนทอดผ้าป่า งานรื่นเริง ปัจจุบันมีการประกวดแข่งขันการเล่นกลองยาวของแต่ละอำเภอในงานต่าง ๆ เช่น ในวันสงกรานต์เป็นต้น
กลองยาวเป็นกลองหน้าเดียว รูปร่างทรงยาว ด้านล่างกลึงเป็นรูปคล้ายปากแตร ส่วนบนป่องเล็กน้อยปิดด้วยหนังวัว ขึงด้วยเชือกให้ตึง กลองยาวมีหลายขนาดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้เล่น ตกแต่งด้วยผ้าสีสวยงาม มีสายสะพายคล้องบ่าเพื่อสะดวกในการเดินตี
ผู้เล่นกลองยาวจะใช้มือตีทั้งสองมือ บางครั้งตีแบบโลดโผนเพื่อความสนุกสนาน ใช้กำปั้น ศอก เข่า ศีรษะ หรือต่อตัวในการตีกลอง ซึ่งต้องใช้ทักษะและความชำนาญในการตี
โอกาสที่เล่น
การเล่นกลองยาวเป็นการเล่นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ในจังหวัดนนทบุรีมีการเล่นกลองยาวตามอำเภอต่าง ๆ โดยจะเล่นในขบวนแห่นาค ขบวนทอดผ้าป่า งานรื่นเริง ปัจจุบันมีการประกวดแข่งขันการเล่นกลองยาวของแต่ละอำเภอในงานต่าง ๆ เช่น ในวันสงกรานต์เป็นต้น
คุณค่า
การเล่นกลองยาวเป็นการเล่นที่แสดงความพร้อมเพรียงสามัคคีในหมู่คณะ เนื่องจากเป็นการเล่นเป็นกลุ่มต้องการเสียง หรือจังหวะที่พร้อมกัน ให้ความสนุกสนานรื่นเริงทั้งผู้เล่นและผู้ชม
การเล่นกลองยาวเป็นการเล่นที่แสดงความพร้อมเพรียงสามัคคีในหมู่คณะ เนื่องจากเป็นการเล่นเป็นกลุ่มต้องการเสียง หรือจังหวะที่พร้อมกัน ให้ความสนุกสนานรื่นเริงทั้งผู้เล่นและผู้ชม
1.3) ตี่จับ
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
การเล่นตี่จับต้องแบ่งผู้เล่นออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายละเท่า ๆ กัน มีเส้นแบ่งเขตตรงกลาง ต้องตกลงกันว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายรุกไปก่อน คนหนึ่งที่เป็นฝ่ายรุกจะเริ่มข้ามเขต พอเข้าเขตฝ่ายตรงข้ามก็ต้องร้อง "ตี่" ไม่ให้ขาดเสียง แล้ววิ่งเอามือแตะตัวคนใดคนหนึ่งในฝ่ายรับ แต่จะหยุดหายใจไม่ได้ ในขณะที่ร้อง "ตี่" นั้น ฝ่ายรับก็จะพยายามจับคนที่ร้อง "ตี่" ไว้ ถ้าคนร้อง "ตี่" เห็นว่าจะสู้ไม่ได้หรือจะต้องถอนหายใจ ต้องรีบถอยมาให้พ้นเส้นแบ่งเขต ถ้าถอยไม่ทันผู้ร้อง "ตี่" หยุดถอนหายใจก็จะต้องถูกจับตัวไว้เป็นเชลย แต่ถ้าคนที่ร้อง "ตี่" แตะตัวฝ่ายรับได้ คนที่ถูกแตะก็เป็นเชลยฝ่ายนี้ ฝ่ายที่ได้เชลยก็จะส่งคนร้อง "ตี่" ไปแตะคนที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามอีก ถ้ายังจับไม่ได้ก็ผลัดกันรุกคนละครั้ง จนกว่าจะกวาดเชลยได้หมดก็ขึ้นตาใหม่
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
มักจะเล่นในเวลาว่างจากภารกิจทั้งปวง เช่น เวลาพักหลังเลิกเรียน หรือภายหลังจากทำงานบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว
คุณค่า/แนวคิด/สาระ
การเล่นตี่จับเป็นการฝึกการใช้กำลัง ฝึกความว่องไว และความอดทน นอกเหนือไปจากความสนุกสนานเพลิดเพลิน
การเล่นตี่จับต้องแบ่งผู้เล่นออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายละเท่า ๆ กัน มีเส้นแบ่งเขตตรงกลาง ต้องตกลงกันว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายรุกไปก่อน คนหนึ่งที่เป็นฝ่ายรุกจะเริ่มข้ามเขต พอเข้าเขตฝ่ายตรงข้ามก็ต้องร้อง "ตี่" ไม่ให้ขาดเสียง แล้ววิ่งเอามือแตะตัวคนใดคนหนึ่งในฝ่ายรับ แต่จะหยุดหายใจไม่ได้ ในขณะที่ร้อง "ตี่" นั้น ฝ่ายรับก็จะพยายามจับคนที่ร้อง "ตี่" ไว้ ถ้าคนร้อง "ตี่" เห็นว่าจะสู้ไม่ได้หรือจะต้องถอนหายใจ ต้องรีบถอยมาให้พ้นเส้นแบ่งเขต ถ้าถอยไม่ทันผู้ร้อง "ตี่" หยุดถอนหายใจก็จะต้องถูกจับตัวไว้เป็นเชลย แต่ถ้าคนที่ร้อง "ตี่" แตะตัวฝ่ายรับได้ คนที่ถูกแตะก็เป็นเชลยฝ่ายนี้ ฝ่ายที่ได้เชลยก็จะส่งคนร้อง "ตี่" ไปแตะคนที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามอีก ถ้ายังจับไม่ได้ก็ผลัดกันรุกคนละครั้ง จนกว่าจะกวาดเชลยได้หมดก็ขึ้นตาใหม่
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
มักจะเล่นในเวลาว่างจากภารกิจทั้งปวง เช่น เวลาพักหลังเลิกเรียน หรือภายหลังจากทำงานบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว
คุณค่า/แนวคิด/สาระ
การเล่นตี่จับเป็นการฝึกการใช้กำลัง ฝึกความว่องไว และความอดทน นอกเหนือไปจากความสนุกสนานเพลิดเพลิน
1.4) หมากเก็บ
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์สำหรับเล่น คือ ก้อนหิน หรือก้อนกรวดที่มีลักษณะกลม ๆ
วิธีการเล่น
ใช้สิ่งสมมติเป็นหมาก ๕ ก้อน เริ่มต้นด้วยการทอด คือ การเทปล่อยให้หมากทั้ง ๕ กระจายไปบนพื้นกระดาน ถ้าก้อนไหนอยู่ห่างถือเป็นตัวนำและขึ้นต้นด้วยหมากหนึ่ง คือ หยิบนำลูกไว้ต่างหากโยนขึ้นไป แล้วปล่อย ๔ ลูกกระจายบนพื้น ทีละลูก และรับลูกที่โยนให้ได้ในขณะเดียวกัน ถ้าเก็บได้หมดก็ต่อหมาก ๒ หมาก ๓ หมาก ๔ ต่อไป ด้วยวิธีเล่นแบบเดียวกัน แต่ถ้าเก็บลูก ๓ ลูกพร้อมกัน เรียกว่า หมาก ๓ แล้วจึงเก็บอีก ๑ ลูก ถ้ารวมหมดเรียกว่า หมาก ๔ และลูกโยนนั้นจะตกไม่ได้ ถ้าตกนับเป็นตาย ต้องให้คนอื่นเล่นต่อไป หมากเก็บนี้มีวิธีเล่นพลิกแพลงหลายอย่าง เช่น การใช้มือซ้ายป้องและเขี่ยหรือเก็บหมากให้เข้าในมือทีละลูก ทีละ ๒ ๓ ๔ ตามลำดับ เรียกว่า "อีกาเข้ารัง" ถ้าเขี่ยไม่เข้าก็นับเป็นตาย ยังมี "อีกาออกรัง" "รูปู"ซึ่งใช้มือซ้ายรูปต่าง ๆ ถ้าใช้นิ้วกลางและหัวแม่มือยืนพื้น นิ้วอื่นปล่อยเป็นรูปเหมือนซุ้มประตู ก็เรียกว่า "อีกาออกรัง" ถ้าใช้นิ้วกลางกับนิ้วแม่มือขดเป็นวงกลมนิ้วชี้ชี้ตรง นิ้วนอกนั้นยันพื้นเป็นรูปเหมือนรูปู ก็เรียก "รูปู" ผู้เล่นต้องเก็บหมากลงในรูปู หรือเขี่ยออกนอกรังในขณะที่รับลูกโยนให้ได้พร้อมกัน การละเล่นชนิดนี้ต้องอาศัยการคาดคะเนให้ดี ในขณะโยนลูกว่าควรจะสูงต่ำเพียงใด ในการโปรยลูกว่าถึงกำหนดต้องเก็บเท่าไร จะได้โปรยให้หมากเหล่านั้นอยู่ชิดหรือห่างกันอย่างไร เพราะถ้ามือที่เก็บไปถูกหมากอีกลูกหนึ่ง ซึ่งไม่ได้อยู่ในแม่ที่กำหนดไว้ก็ถือเป็นตายเหมือนกัน เช่น หมากหนึ่ง ถ้าไม่โปรยให้ห่างกันเกิดมีหมาก ๒ ลูกไปชิดกันเข้าก็ต้องพยายามเก็บลูกหมากลูกนั้นไม่ให้กระเทือนถึงอีกลูกหนึ่ง ถ้าถูกอีกลูกหนึ่งก็ถือว่าเป็น หรือถ้าเก็บหมาก ๒ เกิดไปชิดกัน ๓ ลูก ก็เก็บลำบาก ความสนุกอยู่ตรงคอยจ้องจับว่าใครจะตาย
อุปกรณ์สำหรับเล่น คือ ก้อนหิน หรือก้อนกรวดที่มีลักษณะกลม ๆ
วิธีการเล่น
ใช้สิ่งสมมติเป็นหมาก ๕ ก้อน เริ่มต้นด้วยการทอด คือ การเทปล่อยให้หมากทั้ง ๕ กระจายไปบนพื้นกระดาน ถ้าก้อนไหนอยู่ห่างถือเป็นตัวนำและขึ้นต้นด้วยหมากหนึ่ง คือ หยิบนำลูกไว้ต่างหากโยนขึ้นไป แล้วปล่อย ๔ ลูกกระจายบนพื้น ทีละลูก และรับลูกที่โยนให้ได้ในขณะเดียวกัน ถ้าเก็บได้หมดก็ต่อหมาก ๒ หมาก ๓ หมาก ๔ ต่อไป ด้วยวิธีเล่นแบบเดียวกัน แต่ถ้าเก็บลูก ๓ ลูกพร้อมกัน เรียกว่า หมาก ๓ แล้วจึงเก็บอีก ๑ ลูก ถ้ารวมหมดเรียกว่า หมาก ๔ และลูกโยนนั้นจะตกไม่ได้ ถ้าตกนับเป็นตาย ต้องให้คนอื่นเล่นต่อไป หมากเก็บนี้มีวิธีเล่นพลิกแพลงหลายอย่าง เช่น การใช้มือซ้ายป้องและเขี่ยหรือเก็บหมากให้เข้าในมือทีละลูก ทีละ ๒ ๓ ๔ ตามลำดับ เรียกว่า "อีกาเข้ารัง" ถ้าเขี่ยไม่เข้าก็นับเป็นตาย ยังมี "อีกาออกรัง" "รูปู"ซึ่งใช้มือซ้ายรูปต่าง ๆ ถ้าใช้นิ้วกลางและหัวแม่มือยืนพื้น นิ้วอื่นปล่อยเป็นรูปเหมือนซุ้มประตู ก็เรียกว่า "อีกาออกรัง" ถ้าใช้นิ้วกลางกับนิ้วแม่มือขดเป็นวงกลมนิ้วชี้ชี้ตรง นิ้วนอกนั้นยันพื้นเป็นรูปเหมือนรูปู ก็เรียก "รูปู" ผู้เล่นต้องเก็บหมากลงในรูปู หรือเขี่ยออกนอกรังในขณะที่รับลูกโยนให้ได้พร้อมกัน การละเล่นชนิดนี้ต้องอาศัยการคาดคะเนให้ดี ในขณะโยนลูกว่าควรจะสูงต่ำเพียงใด ในการโปรยลูกว่าถึงกำหนดต้องเก็บเท่าไร จะได้โปรยให้หมากเหล่านั้นอยู่ชิดหรือห่างกันอย่างไร เพราะถ้ามือที่เก็บไปถูกหมากอีกลูกหนึ่ง ซึ่งไม่ได้อยู่ในแม่ที่กำหนดไว้ก็ถือเป็นตายเหมือนกัน เช่น หมากหนึ่ง ถ้าไม่โปรยให้ห่างกันเกิดมีหมาก ๒ ลูกไปชิดกันเข้าก็ต้องพยายามเก็บลูกหมากลูกนั้นไม่ให้กระเทือนถึงอีกลูกหนึ่ง ถ้าถูกอีกลูกหนึ่งก็ถือว่าเป็น หรือถ้าเก็บหมาก ๒ เกิดไปชิดกัน ๓ ลูก ก็เก็บลำบาก ความสนุกอยู่ตรงคอยจ้องจับว่าใครจะตาย
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
การเล่นหมากเก็บไม่ได้จำกัดโอกาสและเวลา จะเล่นเมื่อใดก็ได้ ที่ว่างเว้นจากภารกิจประจำวัน เพื่อความเพลิดเพลินและสนุกสนาน
คุณค่า/แนวคิด/สาระ
ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ฝึกความว่องไว ไหวพริบ ความระมัดระวัง และฝึกสายตาอีกด้วย
การเล่นหมากเก็บไม่ได้จำกัดโอกาสและเวลา จะเล่นเมื่อใดก็ได้ ที่ว่างเว้นจากภารกิจประจำวัน เพื่อความเพลิดเพลินและสนุกสนาน
คุณค่า/แนวคิด/สาระ
ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ฝึกความว่องไว ไหวพริบ ความระมัดระวัง และฝึกสายตาอีกด้วย
2.การละเล่นภาคเหนือ (การละเล่นพื้นบ้านของภาคเหนือ,2554,online)
การละเล่นของภาคเหนือ อธิเช่น
2.1) ปั่นหนังว้อง
อุปกรณ์และวิธีเล่น
การปั่นหนังว้อง คือการปั่นยางวงที่ใช้รัดของ
เป็นการเล่นของเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายเล่นโดยการจับคู่เล่นบนพื้นราบที่ไม่สกปรก
เช่น พื้นเรือน หรือบนโต๊ะ อุปกรณ์ที่ใช้คือ
ยางรัดของจำนวนมากน้อยเท่าที่หาได้กติกาการเล่นมีอยู่ว่า
หากผู้เล่นฝ่ายใดสามารถคลายยางรัดของออกจากกันเป็นเส้นปกติได้
ก็จะได้ยางรัดนั้นเป็นกรรมสิทธิ์
วิธีเล่น
เริ่มจากการนำยางรัดของมาคนละเส้นประกบกันแล้วให้ฝ่ายหนึ่งใช้ส้นมือถูยางรัดของที่ประกบกันนั้นโดยแรงให้ยางรัดทั้งสองเส้นบิดตัวพันกันจนแน่น
แล้วให้อีกฝ่ายหนึ่งพยายามแกะให้คลายออกจากกัน ถ้าทำได้สำเร็จจะได้ยางรัดของไปเป็นของตน
ถ้าทำไม่สำเร็จจะต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งทำแทน ผลัดกันเช่นนี้ไปจนกว่าจะมีผู้ทำสำเร็จ
เมื่อเสร็จแล้วก็เริ่มต้นใหม่ไปเรื่อยๆ
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
เป็นการละเล่นที่ใช้เล่นในยามว่าง
คุณค่า / แนวคิด / สาระ
การเล่นปั่นหนังว้อง เล่นได้ทั้งเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิง
พ่อแม่สามารถให้ลูกเล่นในบ้านและคอยสังเกตพฤติกรรม นิสัยใจคอของลูก
หากพบความผิดปกติจะแก้ไขได้ทันท่วงที
นอกจากนี้ยังเป็นการเก็บรักษายางรัดของไว้ใช้ในโอกาสต่อไปอีกทางหนึ่งด้วย
2.2)ไก่ชนมะม่วง (ป๊อกบ่าม่วง หรือการสับมะม่วง)
อุปกรณ์
1. ลูกมะม่วงขนาดหัวแม่มือ เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ นิ้ว หรือขนาดมือกำได้รอบ
2. เชือกสำหรับร้อยมะม่วง
3. ไม้ไผ่สำหรับทำเดือย
วิธีการเล่น
การเล่นไก่ชนมะม่วงจะแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย
กี่คนก็ได้แต่แข่งขันกันทีละคู่ โดยมีวิธีการเล่นดังนี้
1. ใช้วิธีเสี่ยงว่าใครจะเป็นผู้เริ่มต้นสับไก่มะม่วงก่อน
หรือจะใช้วิธีตกลงกันโดยกำหนดให้คนที่มีมะม่วงขนาดเล็กรับก่อน
2. เจ้าของไก่มะม่วงจะต้องดึงเชือกให้ตึง ห้ามหย่อน ผลัดกันสับคนละครั้ง
สับกันไปจนกระทั่งมะม่วงแตก ก็จะใช้ไม้ไผ่เย็บจนเย็บไม่ได้ถือว่าแพ้ หรือเชือกขาดก็ถือว่าแพ้เช่นกัน
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
เป็นการละเล่นที่เล่นได้ทุกโอกาสในฤดูที่มะม่วงเริ่มออกผล คุณค่า / แนวคิด / สาระ
เป็นการละเล่นที่ให้ความสนุกสนาน ส่วนมากจะเป็นการละเล่นของเด็กผู้ชาย
สอนให้ผู้เล่นมีน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้รู้ชนะ และรู้ระเบียบวินัยของการเล่นด้วยกัน
และเป็นการสร้างความสามัคคีต่อการรวมกลุ่ม
2,3) เล่นโพงพาง
สถานที่เล่น
สนาม ลานกว้าง
สนาม ลานกว้าง
อุปกรณ์
ผ้าปิดตา
ผ้าปิดตา
จำนวนผู้เล่น
ไม่จำกัดจำนวน วิธีเล่น
ยิงฉุบกันว่าใครจะเป็นผู้แพ้ต้องปิดตาเป็นโพงพางตาบอด
ผู้เล่นคนอื่น ๆ จับมือเป็นวงกลมร้องเพลง โพงพางเอ๋ย โพงพางตาบอด รอดเข้ารอดออก
โพงพางตาบอดปล่อยลูกช้างเข้าในวง ขณะเดินวนรอบ ๆ โพงพางตาบอดร้องเพลง ๑-๓ จบ
แล้วนั่งลงโพงพางจะเดินมาคลำคนอื่น ๆ ซึ่งต้องพยายามหนี และจะต้องเงียบสนิท
หากโพงพางจำเสียงหัวเราะ รูปลักษณะได้จะเรียกชื่อ ถ้าเรียกคนถูกต้องออกมาปิดตาเป็นโพงพางต่อไป
ถ้าไม่ถูกก็ต้องเป็นโพงพางอีกไปเรื่อย ๆ
กติกา
ใครถูกจับได้
และบอกชื่อถูกต้องเป็นโพงพางแทน
โอกาส
เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เด็ก ๆ เล่นกันโดยทั่วไป
2.4) เตยหรือหลิ่น
สถานที่เล่น
ลานกว้าง ที่โล่งแจ้ง
ลานกว้าง ที่โล่งแจ้ง
อุปกรณ์
ไม่มี
ไม่มี
จำนวนผู้เล่น
๖-๑๒ คน
๖-๑๒ คน
วิธีเล่น
ขีดเส้นเป็นตารางจำนวนเท่ากับผู้เล่น
(สมมติว่ามี ๖ คน) แล้วแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งยืนประจำเส้น (ตามขวาง)
อีกฝ่ายจะวิ่งผ่านแต่ละเส้นไปโดยไม่ให้เจ้าของเส้นแตะได้
เมื่อเริ่มเล่นคนที่ยืนประจำเส้นแรก พูดว่า ไหล หรือ หลิ่น
ฝ่ายตรงข้ามก็เริ่มวิ่งผ่านเส้นแรกไปจนถึงเส้นสุดท้ายแล้ววิ่งกลับ
ถ้าวิ่งกลับถึงเส้นแรกโดยไม่ถูกฝ่ายตรงข้ามแตะได้ก็พูดว่า เตย ก็จะเป็นฝ่ายชนะ
โอกาส
เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เด็ก ๆ เล่นกันโดยทั่วไป
3.การละเล่นภาคอีสาน (ประเพณีไทย ดอทคอม,2556,online)
การละเล่นของภาคอีสาน อธิเช่น
3.1) ขาโถกเถก
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์
ไม้ไผ่กิ่ง ๒ ลำ ถ้าไม่มีก็เจาะรูแล้วเอาไม้อื่นๆ สอดไว้เพื่อให้เป็นที่วางเท้าได้
วิธีการเล่น ผู้เล่นจะเลือกไม้ไผ่ลำตรง ๆ ที่มีกิ่ง ๒ ลำที่กิ่งมีไว้สำหรับวางเท้าต้องเสมอกันทั้ง ๒ ข้าง ผู้เล่นขึ้นไปยืนบนแขนงไม้เวลาเดินยกเท้าข้างไหนมือที่จับลำไม้ไผ่ก็จะยกข้างนั้น ส่วนมากเด็ก ๆ ที่เล่นมักจะมาแข่งขันกัน ใครเดินได้ไวและไม่ตกจากไม้ถือว่าเป็นผู้ชนะ
วิธีการเล่น ผู้เล่นจะเลือกไม้ไผ่ลำตรง ๆ ที่มีกิ่ง ๒ ลำที่กิ่งมีไว้สำหรับวางเท้าต้องเสมอกันทั้ง ๒ ข้าง ผู้เล่นขึ้นไปยืนบนแขนงไม้เวลาเดินยกเท้าข้างไหนมือที่จับลำไม้ไผ่ก็จะยกข้างนั้น ส่วนมากเด็ก ๆ ที่เล่นมักจะมาแข่งขันกัน ใครเดินได้ไวและไม่ตกจากไม้ถือว่าเป็นผู้ชนะ
โอกาสที่เล่น
การวิ่งขาโถกเถก
ถือเป็นการละเล่นที่เล่นได้ทุกโอกาส โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์
สาระ
นอกเหนือจากความสนุกสนานแล้ว
ยังเป็นเครื่องมือในการออกกำลังกาย บริหารส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้เป็นอย่างดี
เดิมผู้ที่ใช้ขาโถกเถกเป็นชายหนุ่มไปเกี้ยวสาว
เสียงเดินจากไม้เมื่อสาวได้ยินก็จะมาเปิดประตูรอเพื่อพูดคุยกันตามประสาหนุ่มสาว
หรือบ้านสาวเลี้ยงสุนัขไม้โถกเถกยังเป็นอุปกรณ์ไล่สุนัขได้ด้วย
3.2) แข่งเรือบนบก
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
ไม้กระดาน
๒ แผ่น ยาวประมาณ ๑ วาเศษ พร้อมเชือกที่จะใช้รัดหลังเท้าติดกับไม้
วิธีการเล่น ผู้เล่นแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ละ ๒-๕ คน โดยจะรัดเท้าทั้ง ๒ ข้าง ไว้กับกระดาน ๒ แผ่น มือจับเอวหรือจับไหล่ของผู้ที่อยู่ข้างหน้า อาศัยความพร้อมเพรียงจะยกเท้าซ้ายพร้อม ๆ กัน ดันไม้กระดานไปข้างหน้า กลุ่มใดถึงเส้นชัยก่อนถือว่าชนะ
วิธีการเล่น ผู้เล่นแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ละ ๒-๕ คน โดยจะรัดเท้าทั้ง ๒ ข้าง ไว้กับกระดาน ๒ แผ่น มือจับเอวหรือจับไหล่ของผู้ที่อยู่ข้างหน้า อาศัยความพร้อมเพรียงจะยกเท้าซ้ายพร้อม ๆ กัน ดันไม้กระดานไปข้างหน้า กลุ่มใดถึงเส้นชัยก่อนถือว่าชนะ
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
ส่วนใหญ่จะเล่นในเทศกาลสงกรานต์
สาระ
นอกจากจะเป็นการออกกำลังขาแล้วยังสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
สร้างความสนุกสนาน การแข่งเรือบกจะเล่นกันในพื้นที่ ๆ ไม่มีแม่น้ำไหลผ่าน
3.3) จานซ่อนใบ
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์การเล่น
ผ้าขาวม้าฝั้นเกลียวให้แน่นใช้สำหรับตี
วิธีการเล่น หนุ่มสาวยืนล้อมวง เป็นวงกลมซ้อนกัน ๒ วง คนหน้าและคนหลังยืนตรงกัน เรียกคนหน้าว่าจานใบที่ ๑ และเรียกคนหลังว่าจานใบที่ ๒ จะมีคนเกินอยู่ ๑ คน และคนไล่ ๑ คน เมื่อเริ่มเล่นคนที่เป็นเศษจะต้องวิ่งไปซ้อนหน้าคนที่ยืนซ้อนกันอยู่แล้ว เมื่อซ้อนเข้าไปแล้วคนที่อยู่หลังสุดก็จะกลายเป็นเศษ คือเป็นจานใบที่ ๓ ก็จะถูกไล่ตี เพราะฉะนั้นคนที่เป็นคนที่ ๓ จะต้องวิ่งหนีเพื่อซ้อนคนอื่นต่อไป
กติกาการเล่น คนที่เป็นคนเศษแล้วถูกซ้อน ต้องซ้อนข้างหน้าเท่านั้น คนที่อยู่ที่ ๓ ถ้าตีถูกหรือถูกตีถือว่าตาย ต้องกลับมาเป็นผู้ไล่ต่อไป
วิธีการเล่น หนุ่มสาวยืนล้อมวง เป็นวงกลมซ้อนกัน ๒ วง คนหน้าและคนหลังยืนตรงกัน เรียกคนหน้าว่าจานใบที่ ๑ และเรียกคนหลังว่าจานใบที่ ๒ จะมีคนเกินอยู่ ๑ คน และคนไล่ ๑ คน เมื่อเริ่มเล่นคนที่เป็นเศษจะต้องวิ่งไปซ้อนหน้าคนที่ยืนซ้อนกันอยู่แล้ว เมื่อซ้อนเข้าไปแล้วคนที่อยู่หลังสุดก็จะกลายเป็นเศษ คือเป็นจานใบที่ ๓ ก็จะถูกไล่ตี เพราะฉะนั้นคนที่เป็นคนที่ ๓ จะต้องวิ่งหนีเพื่อซ้อนคนอื่นต่อไป
กติกาการเล่น คนที่เป็นคนเศษแล้วถูกซ้อน ต้องซ้อนข้างหน้าเท่านั้น คนที่อยู่ที่ ๓ ถ้าตีถูกหรือถูกตีถือว่าตาย ต้องกลับมาเป็นผู้ไล่ต่อไป
โอกาสที่เล่น
ในช่วงเทศกาลสงกรานต์
ส่วนใหญ่ผู้เล่นคือหนุ่มสาว เพื่อที่จะได้เกิดความใกล้ชิดและชอบพอกัน ในปัจจุบันยังมีการละเล่นจานช้อนใบอยู่บางหมู่บ้าน
เช่น บ้านเดื่อ บ้านบัว อำเภอเกษตรสมบูรณ์
สาระ
นอกเหนือจากความสนุกสนานแล้วยังเป็นการละเล่นที่ปลูกฝังเรื่องการเคารพกฎกติกา
ฝึกให้เป็นคนมีระเบียบวินัย ทั้งยังเป็นการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
3.4) การเต้นขาเดียว
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
สถานที่
กลางแจ้ง
ผู้เล่น ไม่จำกัดวัย เพศและจำนวน
ผู้เล่น ไม่จำกัดวัย เพศและจำนวน
วิธีเล่น
- ผู้เล่นทุกคนขีดเส้นร่วมกันโดยเดินต่อกันเป็นแถว
พร้อมกับร้องเพลงประกอบการเล่นว่า "ขีด ๆ ผู้ได๋บ่ขีด บ่ให้เล่นนำ"
จะขีดเป็นวงกลมหรือสี่เหลี่ยมก็ได้
- จับคู่แล้วทำการเสี่ยงแบ่งฝ่าย โดยคนแพ้จะอยู่กับฝ่ายแพ้ คนชนะจะอยู่กับฝ่ายชนะ
- ทั้งสองฝ่ายส่งตัวแทนมาทำการเสี่ยงกัน ฝ่ายไหนชนะจะได้เล่นเป็นฝ่ายวิ่งก่อน
- ฝ่ายชนะเข้าไปอยู่ในวง ฝ่ายแพ้อยู่นอกวง
- ฝ่ายแพ้จะเต้นขาเดียวไล่แตะฝ่ายชนะที่อยู่ในวง โดยจะเข้าไปเต้นทีละคน ถ้าฝ่ายเต้นสามารถไล่แตะถูกตัวผู้เล่นฝ่ายวิ่งคนใด คนนั้นถือว่าตาย ต้องออกไปอยู่วงนอกหมดสิทธิ์วิ่ง
- ฝ่ายไล่จะพยายามไล่แตะจนกว่าฝ่ายวิ่งจะหมด จึงจะได้เปลี่ยนมาเล่นเป็นฝ่ายวิ่งแทน แต่ถ้าฝ่ายไล่ตายหมดก่อนก็จะได้เล่นเป็นฝ่ายไล่ต่อไป
กติกา
- ถ้าฝ่ายวิ่งคนใดถูกคนเต้นขาเดียวแตะต้อง จะถือว่าตาย
- ถ้าฝ่ายเต้น ขาถูกพื้นทั้งสองขาพร้อมกัน จะถือว่าตาย
- ฝ่ายไหนตายหมดก่อนถือว่าแพ้ จะต้องเล่นเป็นฝ่ายไล่ในตาต่อไป
- จับคู่แล้วทำการเสี่ยงแบ่งฝ่าย โดยคนแพ้จะอยู่กับฝ่ายแพ้ คนชนะจะอยู่กับฝ่ายชนะ
- ทั้งสองฝ่ายส่งตัวแทนมาทำการเสี่ยงกัน ฝ่ายไหนชนะจะได้เล่นเป็นฝ่ายวิ่งก่อน
- ฝ่ายชนะเข้าไปอยู่ในวง ฝ่ายแพ้อยู่นอกวง
- ฝ่ายแพ้จะเต้นขาเดียวไล่แตะฝ่ายชนะที่อยู่ในวง โดยจะเข้าไปเต้นทีละคน ถ้าฝ่ายเต้นสามารถไล่แตะถูกตัวผู้เล่นฝ่ายวิ่งคนใด คนนั้นถือว่าตาย ต้องออกไปอยู่วงนอกหมดสิทธิ์วิ่ง
- ฝ่ายไล่จะพยายามไล่แตะจนกว่าฝ่ายวิ่งจะหมด จึงจะได้เปลี่ยนมาเล่นเป็นฝ่ายวิ่งแทน แต่ถ้าฝ่ายไล่ตายหมดก่อนก็จะได้เล่นเป็นฝ่ายไล่ต่อไป
กติกา
- ถ้าฝ่ายวิ่งคนใดถูกคนเต้นขาเดียวแตะต้อง จะถือว่าตาย
- ถ้าฝ่ายเต้น ขาถูกพื้นทั้งสองขาพร้อมกัน จะถือว่าตาย
- ฝ่ายไหนตายหมดก่อนถือว่าแพ้ จะต้องเล่นเป็นฝ่ายไล่ในตาต่อไป
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
เล่นได้ทุกโอกาส
สาระ
- ฝึกให้มีความรับผิดชอบตามกฎกติกาของการเล่น
- ให้มีความรับผิดชอบต่อสิทธิและหน้าที่ของตน
- ส่งเสริมการออกกำลังกาย ให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
- ให้มีความรับผิดชอบต่อสิทธิและหน้าที่ของตน
- ส่งเสริมการออกกำลังกาย ให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
4.การละเล่นภาคใต้ (ประเพณีไทย ดอทคอม,2556,online)
การละเล่นภาคใต้
อาธิเช่น
4.1) อีฉุด
วิธีการเล่น
ผู้เล่นตกลงกันว่าใครจะเป็นผู้เล่นก่อนหลัง
โดยผู้เล่นมีลูกเกยคนละลูก หลังจากนั้นก็ขีดตารางเป็นช่องสี่เหลี่ยมจำนวน ๖ ช่อง
หรือเรียกว่า ๖ เมือง โดยแบ่งเป็นซีกซ้าย ๓ เมือง ซีกขวา ๓ เมือง
การเริ่มเล่น ผู้เล่นคนที่ ๑ เริ่มเล่นโดยการทอยลูกเกยลงไปในเขตเมืองที่ ๑ แล้วกระโดดยืนเท้าเดียวในเมืองที่ ๑ หลังจากนั้นใช้ปลายเท้าฉุดลูกเกยให้ผ่านไปในเขตเมืองที่ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ตามลำดับแล้วก็ฉุดลูกเกยออกจากเขตเมืองที่ ๖ ต่อไปผู้เล่นคนเดิม ต้องทอยลูกเกยลงในเมืองที่ ๒ แล้วกระโดดยืนเท้าเดียวในเมืองที่ ๑ กระโดดต่อไปในเมืองที่ ๒ หลังจากนั้นก็เล่นเหมือนเดิมไปเรื่อยๆทุกเมือง จนถึงเมืองที่ ๖ เมื่อทอยลูกเกยและฉุดได้ครบทั้ง ๖ เมืองแล้วให้ผู้เล่นกระโดดด้วยเท้าข้างเดียวจังหวะเดียวลงบนเมืองที่ ๑ ถึง เมืองที่ ๖ ตามลำดับ ห้ามกระโดดหลายครั้งมิฉะนั้นถือว่า ตาย ต้องให้คนอื่นๆเล่นต่อ ถ้าเล่นครบท่านี้แล้วไม่ตาย ให้เล่นในท่าต่อไป คือ เอาลูกเกยวางบนหลังเท้าแล้วสาวเท้าลงในเมืองทั้ง ๖ เมือง ตามลำดับ แต่เท้าหนึ่งลงในเมืองหนึ่งได้เพียงครั้งเดียว เช่น เท้าซ้ายเหยียบลงในเมืองที่ ๑ เท้าขวาเหยียบลงในเมืองที่ ๒ เท้าซ้ายเหยียบลงในเมืองที่ ๓ สลับกันไปเช่นนี้จนกว่าจะครบทุกเมือง ลูกเกยนั้นต้องไม่ตกจากหลังเท้าและเท้านั้นต้องไม่เหยียบเส้น ท่าต่อไปนั้นให้ผู้เล่นปิดตา เดินที่ละก้าวโดยไม่ต้องวางลูกเกยบนหลังเท้าขณะเดินขณะที่ก้าวเท้าลงในแต่ละเมืองผู้เล่นนั้นต้องถามว่า "อู่ บอ" หมายความว่า เหยียบเส้นหรือไม่ ถ้าไม่เหยียบผู้เล่นคนอื่นๆจะตอบว่า "บอ" ถ้าเหยียบเส้นตอบว่า "อู่" เมื่อผู้เล่นที่ปิดตาเหยียบเส้นถือว่า ตาย ต้องเปลี่ยนให้คนอื่นๆเล่นต่อไป ถ้าเล่นยังไม่ตายผู้เล่นนั้นมีสิทธิ์ในการจองเมือง โดยผู้เล่นนั้นต้องเดินเฉียงไปแบบสลับฟันปลาไปตามช่องต่างๆ ให้ลงเท้าได้เพียงเท้าเดียว เช่น ลงเท้าซ้ายในเมืองที่ ๑ ลงเท้าขวาในเมือ งที่ ๓ และลงเท้าซ้ายในเมืองที่ ๕ แล้วกระโดดสองเท้าลงในหัวกระโหลก กระโดดเท้าพร้อมกับหันหลัง และผู้เล่นก็โยนลูกเกยข้ามศีรษะของตน
เองถ้าลูกเกยไปตกอยู่ในเมืองใดเมืองหนึ่ง เมืองนั้นจะเป็นของผู้เล่นทันที ดังนั้นผู้เล่นมีสิทธิ์ยืนสองเท้าในเมืองนั้นได้ เมื่อได้เมืองแล้วก็ให้เล่นอย่างนั้นต่อไป จนกว่าจะตายจึงจะต้องเปลี่ยนให้ผู้อื่นเล่นต่อ
การเริ่มเล่น ผู้เล่นคนที่ ๑ เริ่มเล่นโดยการทอยลูกเกยลงไปในเขตเมืองที่ ๑ แล้วกระโดดยืนเท้าเดียวในเมืองที่ ๑ หลังจากนั้นใช้ปลายเท้าฉุดลูกเกยให้ผ่านไปในเขตเมืองที่ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ตามลำดับแล้วก็ฉุดลูกเกยออกจากเขตเมืองที่ ๖ ต่อไปผู้เล่นคนเดิม ต้องทอยลูกเกยลงในเมืองที่ ๒ แล้วกระโดดยืนเท้าเดียวในเมืองที่ ๑ กระโดดต่อไปในเมืองที่ ๒ หลังจากนั้นก็เล่นเหมือนเดิมไปเรื่อยๆทุกเมือง จนถึงเมืองที่ ๖ เมื่อทอยลูกเกยและฉุดได้ครบทั้ง ๖ เมืองแล้วให้ผู้เล่นกระโดดด้วยเท้าข้างเดียวจังหวะเดียวลงบนเมืองที่ ๑ ถึง เมืองที่ ๖ ตามลำดับ ห้ามกระโดดหลายครั้งมิฉะนั้นถือว่า ตาย ต้องให้คนอื่นๆเล่นต่อ ถ้าเล่นครบท่านี้แล้วไม่ตาย ให้เล่นในท่าต่อไป คือ เอาลูกเกยวางบนหลังเท้าแล้วสาวเท้าลงในเมืองทั้ง ๖ เมือง ตามลำดับ แต่เท้าหนึ่งลงในเมืองหนึ่งได้เพียงครั้งเดียว เช่น เท้าซ้ายเหยียบลงในเมืองที่ ๑ เท้าขวาเหยียบลงในเมืองที่ ๒ เท้าซ้ายเหยียบลงในเมืองที่ ๓ สลับกันไปเช่นนี้จนกว่าจะครบทุกเมือง ลูกเกยนั้นต้องไม่ตกจากหลังเท้าและเท้านั้นต้องไม่เหยียบเส้น ท่าต่อไปนั้นให้ผู้เล่นปิดตา เดินที่ละก้าวโดยไม่ต้องวางลูกเกยบนหลังเท้าขณะเดินขณะที่ก้าวเท้าลงในแต่ละเมืองผู้เล่นนั้นต้องถามว่า "อู่ บอ" หมายความว่า เหยียบเส้นหรือไม่ ถ้าไม่เหยียบผู้เล่นคนอื่นๆจะตอบว่า "บอ" ถ้าเหยียบเส้นตอบว่า "อู่" เมื่อผู้เล่นที่ปิดตาเหยียบเส้นถือว่า ตาย ต้องเปลี่ยนให้คนอื่นๆเล่นต่อไป ถ้าเล่นยังไม่ตายผู้เล่นนั้นมีสิทธิ์ในการจองเมือง โดยผู้เล่นนั้นต้องเดินเฉียงไปแบบสลับฟันปลาไปตามช่องต่างๆ ให้ลงเท้าได้เพียงเท้าเดียว เช่น ลงเท้าซ้ายในเมืองที่ ๑ ลงเท้าขวาในเมือ งที่ ๓ และลงเท้าซ้ายในเมืองที่ ๕ แล้วกระโดดสองเท้าลงในหัวกระโหลก กระโดดเท้าพร้อมกับหันหลัง และผู้เล่นก็โยนลูกเกยข้ามศีรษะของตน
เองถ้าลูกเกยไปตกอยู่ในเมืองใดเมืองหนึ่ง เมืองนั้นจะเป็นของผู้เล่นทันที ดังนั้นผู้เล่นมีสิทธิ์ยืนสองเท้าในเมืองนั้นได้ เมื่อได้เมืองแล้วก็ให้เล่นอย่างนั้นต่อไป จนกว่าจะตายจึงจะต้องเปลี่ยนให้ผู้อื่นเล่นต่อ
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
ในการเล่นอีฉุดนั้นไม่มีการกำหนดโอกาสและเวลาที่เล่น
เพราะสามารถเล่นได้ในทุกโอกาสและการเล่นอีฉุดนั้นเป็นการเล่นของเด็กที่นิยมกันมากในท้องถิ่นจังหวัดกระบี่
คุณค่าและแนวคิด
ในการเล่นอีฉุดนั้นก่อให้เกิดความสามัคคี ความรักความผูกพันธ์กันในหมู่คณะและเป็นการฝึกความสัมพันธ์ของร่างกายในส่วนต่างๆ ทั้ง มือ เท้า และสมอง ได้เป็นอย่างดี
คุณค่าและแนวคิด
ในการเล่นอีฉุดนั้นก่อให้เกิดความสามัคคี ความรักความผูกพันธ์กันในหมู่คณะและเป็นการฝึกความสัมพันธ์ของร่างกายในส่วนต่างๆ ทั้ง มือ เท้า และสมอง ได้เป็นอย่างดี
4.2) ฉับโผง
อุปกรณ์และวิธีเล่น
ฉับโผง
เป็นวัตถุประดิษฐ์ที่เด็กกระบี่ในสมัยก่อนนิยมเล่นกัน วิธีการประดิษฐ์นำไม้ไผ่ขนาดเล็ก
มาตัดให้เหลือ ๑ ปล้องมีรูกลวงตรงกลางตลอดลำ (ยาวประมาณ ๑ คืบ) เรียกส่วนนี้ว่า
"บอกฉับโผง"จากนั้นนำไม้ไผ่ความยาวประมาณ ๑.๕ คืบมาเกลาให้กลม
ขนาดพอที่จะกระทุ้งเข้าไปในกระบอกไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ได้ พร้อมทั้งใช้ไม้ไผ่ขนาดเท่ากระบอกฉับโผงความยาวประมาณ
๐.๕ คืบ สวมโคนไม้ไผ่ส่วนที่ยาวเกินกระบอก ชิ้นส่วนนี้เรียกว่า
"ด้ามจับ"
วิธีการเล่น นำลูกพลา (ผลไม้ป่ามีลักษณะผลเป็นช่อคล้ายมะเขือพวงแต่ลูกเล็กกว่า) อัดเข้าไปในกระบอกฉับโผง แล้วมือข้างหนึ่งถือกระบอกมือข้างหนึ่งถือด้ามจับสอดปลายด้ามจับกระทุ้งไปด้านหน้าแรงๆให้แรงอัดดันลูกพลาพุ่งออกไปนอกกระบอก
โอกาสและเวลาที่เล่น
การเล่นฉับโผงไม่จำกัดโอกาสและเวลาที่เล่น สามารถใช้เล่นยิงกันแทนปืนหรือยิงวัตถุที่เป็นเป้าได้ทุกโอกาส
คุณค่าและแนวคิด
การเล่นฉับโผงส่วนใหญ่แล้วนิยมเล่นกันเป็นกลุ่มๆก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะฝึกความแม่นยำและฝึกความสัมพันธ์ระหว่างตากับมือและเป็นการฝึกให้เด็กๆได้นำวัสดุจากธรรมชาติมาประดิษฐ์เป็นของเล่น
วิธีการเล่น นำลูกพลา (ผลไม้ป่ามีลักษณะผลเป็นช่อคล้ายมะเขือพวงแต่ลูกเล็กกว่า) อัดเข้าไปในกระบอกฉับโผง แล้วมือข้างหนึ่งถือกระบอกมือข้างหนึ่งถือด้ามจับสอดปลายด้ามจับกระทุ้งไปด้านหน้าแรงๆให้แรงอัดดันลูกพลาพุ่งออกไปนอกกระบอก
โอกาสและเวลาที่เล่น
การเล่นฉับโผงไม่จำกัดโอกาสและเวลาที่เล่น สามารถใช้เล่นยิงกันแทนปืนหรือยิงวัตถุที่เป็นเป้าได้ทุกโอกาส
คุณค่าและแนวคิด
การเล่นฉับโผงส่วนใหญ่แล้วนิยมเล่นกันเป็นกลุ่มๆก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะฝึกความแม่นยำและฝึกความสัมพันธ์ระหว่างตากับมือและเป็นการฝึกให้เด็กๆได้นำวัสดุจากธรรมชาติมาประดิษฐ์เป็นของเล่น
4.3) ลูกลม (กังหันลม)
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์
๑.
ใบลูกลม ใช้ใบมะพร้าว หรือกาบหมาก หรือใบเตย เลือกชนิดใดชนิดหนึ่งแล้วเฉือนใบให้ได้ขนาดกว้าง
๐.๕ นิ้ว ยาว ๔ นิ้ว บิดปลายทั้งสองให้เฉเล็กน้อยไปคนละทาง
ตรงกลางใบลูกลมทำรูไว้เสียบหลอดสำหรับสวมเดือย
๒. หลอดลูกลม อยู่ตรงกลางของใบลูกลม สำหรับใส่ไม้ลูกลม และต้องหลวมเพื่อให้ใบลูกลมหมุนได้สะดวก
๓. ไม้ลูกลม ใช้สวมลงในเดือยให้ตั้งฉาก
๔. หางลูกลม นิยมทำด้วยทางระกำทั้งใบ ผูกติดกับไม้ลูกลม
๕. ลูกร้อง ใส่ลูกร้องตรงปลายใบลูกลมทั้ง ๒ ข้าง ลูกร้องทำด้วยไม้ไผ่มีรูที่เนื้อไม้บางที่สุด ตกแต่งปากลูกร้องด้วยชัน
๒. หลอดลูกลม อยู่ตรงกลางของใบลูกลม สำหรับใส่ไม้ลูกลม และต้องหลวมเพื่อให้ใบลูกลมหมุนได้สะดวก
๓. ไม้ลูกลม ใช้สวมลงในเดือยให้ตั้งฉาก
๔. หางลูกลม นิยมทำด้วยทางระกำทั้งใบ ผูกติดกับไม้ลูกลม
๕. ลูกร้อง ใส่ลูกร้องตรงปลายใบลูกลมทั้ง ๒ ข้าง ลูกร้องทำด้วยไม้ไผ่มีรูที่เนื้อไม้บางที่สุด ตกแต่งปากลูกร้องด้วยชัน
วิธีการเล่น
หลังจากประกอบทำลูกลมเสร็จแล้ว
จะนำลูกลมไปเสียบผูกไว้บนยอดไม้สูง ๆ เพื่อให้รับลมได้เต็มที่
ลูกลมจะหมุนและส่งเสียงร้องได้ยินไปไกล
บางครั้งมีการแข่งขันการวิ่งลูกลมโดยถือลูกลมวิ่งฟังเสียงดูว่าลูกลมอันไหนเสียงดังไพเราะ
ลูกลมที่ถือว่าเสียงดีไพเราะจะต้องมีเสียงกลมและมีใยเสียง
โอกาสและเวลาที่เล่น
ชาวบ้านนิยมเล่นลูกลม หลังจากเก็บข้าวเสร็จแล้ว ในฤดูร้อนเพราะว่างจากการทำงาน พื้นดินแห้งสนิท ลมกำลังดี เหมาะแก่การเล่นลูกลมมาก
คุณค่า
การเล่นลูกลมเป็นการพักผ่อนนันทนาการแบบหนึ่งของชาวชนบท โดยคิดค้นวิธีการทำลูกลมให้คงทนและเสียงไพเราะ ทำให้ได้ใช้ความคิดประดิษฐ์ลูกลมแบบต่าง ๆ ที่สวยงามและใช้เทคโนโลยีพื้นบ้าน โดยเฉพาะการวิ่งลูกลมเป็นกีฬาการออกกำลังกายได้ทั้งความสนุกสนานและความสามัคคี
โอกาสและเวลาที่เล่น
ชาวบ้านนิยมเล่นลูกลม หลังจากเก็บข้าวเสร็จแล้ว ในฤดูร้อนเพราะว่างจากการทำงาน พื้นดินแห้งสนิท ลมกำลังดี เหมาะแก่การเล่นลูกลมมาก
คุณค่า
การเล่นลูกลมเป็นการพักผ่อนนันทนาการแบบหนึ่งของชาวชนบท โดยคิดค้นวิธีการทำลูกลมให้คงทนและเสียงไพเราะ ทำให้ได้ใช้ความคิดประดิษฐ์ลูกลมแบบต่าง ๆ ที่สวยงามและใช้เทคโนโลยีพื้นบ้าน โดยเฉพาะการวิ่งลูกลมเป็นกีฬาการออกกำลังกายได้ทั้งความสนุกสนานและความสามัคคี
4.4) ขว้างราว
อุปกรณ์และวิธีเล่น
ขว้างราว
เป็นการเล่นที่นิยมของเด็กในจังหวัดกระบี่ กล่าวคือ นำไม้ไผ่มาผ่าเกลาให้
มีขนาดกว้าง ๑ นิ้ว ยาว ๓๐ เซนติเมตร ทำเป็นราว
การเล่นไม่จำกัดจำนวนผู้เล่นส่วนใหญ่ประมาณ ๓-๕ คน นำราวมาตั้งโดยมีหินรองปลายราวทั้ง ๒ ข้างให้สูงจากพื้นดินประมาณ ๓ นิ้ว แล้วขีดเส้นเป็นเขตสำหรับยืนขว้างให้ห่างจากราวประมาณ ๕ เมตร หลังจากนั้นก็นำเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ไปวางบนราวตามที่ได้ตกลงกันว่าวางคนละกี่เมล็ด จากนั้นก็เริ่มขว้าง ถ้าคนแรกขว้างถูกและควํ่าหมดถือว่าจบเกมส์คนขว้างจะได้เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ทั้งหมด ผู้เล่นแต่ละคนต้องนำเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ไปวางบนราวใหม่ แต่ถ้าขว้างไม่ถูกหรือควํ่าไม่หมดคนที่สองก็ขว้างต่อ จนกระทั่งควํ่าหมดจึงเริ่มเล่นใหม่
โอกาสและเวลาที่เล่น
การเล่นขว้างราว นิยมเล่นกันในช่วงฤดูที่มะม่วงหิมพานต์ออกผล ไม่จำกัดเวลาในการเล่น
คุณค่าและแนวคิด
การเล่นขว้างราวเป็นการฝึกสมาธิ ความแม่นยำและความสัมพันธ์กันระหว่างสายตากับมือ และก่อให้เกิดความสามัคคีกันในหมู่คณะ
การเล่นไม่จำกัดจำนวนผู้เล่นส่วนใหญ่ประมาณ ๓-๕ คน นำราวมาตั้งโดยมีหินรองปลายราวทั้ง ๒ ข้างให้สูงจากพื้นดินประมาณ ๓ นิ้ว แล้วขีดเส้นเป็นเขตสำหรับยืนขว้างให้ห่างจากราวประมาณ ๕ เมตร หลังจากนั้นก็นำเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ไปวางบนราวตามที่ได้ตกลงกันว่าวางคนละกี่เมล็ด จากนั้นก็เริ่มขว้าง ถ้าคนแรกขว้างถูกและควํ่าหมดถือว่าจบเกมส์คนขว้างจะได้เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ทั้งหมด ผู้เล่นแต่ละคนต้องนำเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ไปวางบนราวใหม่ แต่ถ้าขว้างไม่ถูกหรือควํ่าไม่หมดคนที่สองก็ขว้างต่อ จนกระทั่งควํ่าหมดจึงเริ่มเล่นใหม่
โอกาสและเวลาที่เล่น
การเล่นขว้างราว นิยมเล่นกันในช่วงฤดูที่มะม่วงหิมพานต์ออกผล ไม่จำกัดเวลาในการเล่น
คุณค่าและแนวคิด
การเล่นขว้างราวเป็นการฝึกสมาธิ ความแม่นยำและความสัมพันธ์กันระหว่างสายตากับมือ และก่อให้เกิดความสามัคคีกันในหมู่คณะ
สรุปการละเล่นพื้นบ้าน
การละเล่นพื้นบ้านของแต่ภูมิภาคก็จะมีความแตกต่างกันออกไป
ปัจจัยที่ทำให้เกิดความแตกต่างกันออกไปนั้นก็จะมี สภาพภูมิประเทศสภาพ สภาพความเป็นอยู่ สภาพแวดล้อม
ทั้งนี้ การละเล่นพื้นบ้านมีประโยชน์
และมีคุณค่าต่อคนในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง
เพราะการละเล่นบางอย่าง บ่งบอกถึงสภาพแวดล้อม ความเป็นอยู่ แต่ในปัจจุบันการละเล่นพื้นบ้านก็ได้เริ่มจากหายไปจางประเทศไทยไปเรื่อยๆ เพราะในตอนนี้เริ่มมี
สิ่งที่ทำให้เด็กๆในประเทศไทยเริ่มลืมการละเล่นพื้นบ้าน เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ สื่อจากอินเตอร์เน็ตต่างๆ
ที่สามารถดึงความสนใจไปได้มาก จึงทำให้การละเล่นพื่นบ้าน เป็นที่ไม่น่าสนใจ แต่ก็ยังมีเด็กๆ บางส่วนที่ยังสนใจ และคิดจะสืบสานต่อไป
แต่มันก็เป็นจำนวนน้อยมาก